ผลงานออกแบบและผลงานวิจัย ของ ดนัย ทายตะคุ

ดร.ดนัย นับว่าเป็นภูมิสถาปนิกคนแรกของประเทศไทย ที่เชี่ยวชาญเรื่องภูมิสถาปัตยกรรมเชิงนิเวศ มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์นิเวศวิทยาหลายเรื่อง เช่น Understanding Bangkok's 1890 Urban Patterns: A Historical GIS Method,Urban-Rural Sustainability ทุน Integrated Research System for Sustainable Science (IR3S), The University of Tokyo, PACIFIC RIM CITIES: CLIMATE CHANGE MITIGATION AND ADAPTATION STRATEGIES (CMAS): Resilience and Adaptability and Climate Change: The New Realm of Urban Ecology and Urbanization and Landscape Changes: the Chao Phraya river delta and the city of Bangkok, Thailand.

โดยมีผลงานวางผัง ออกแบบและเป็นที่ปรึกษา เช่น งานวางผังและออกแบบ ผังแม่บทการฟื้นฟูที่ดินเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ตเป็นสวนสาธารณะ (2530), งานวางผังและออกแบบ การจัดทำผังแม่บทและออกแบบรายละเอียดโครงการปรับปรุงพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ทองคำ ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (2546) ,งานวางผังและออกแบบ ผังปรับปรุงพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วเพื่อการพักผ่อน ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง (2546) ,งานวางผังและออกแบบ ภูมิทัศน์ลานหน้าอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์และอาคารบรมราชกุมารี (2549)[3]